Saturday, August 23, 2014

พ่อมึงดีอยู่คนเดียว....พ่อคนอื่นเลวหมด

จั่วหัวเรื่องไว้เช่นนั้น....
เพราะอยากทำและคิดว่าทำถูก
เพราะคิดว่าเรื่องมันยาวและเชื่อว่ามันยาวจริง
เพราะคิดว่าไม่ได้ก้าวล่วงผู้ใดและไม่เคยคิดก้าวล่วง
เพราะเชื่อว่ามันคือเสรีภาพของการพูดและการเขียนที่ชาวโลกเค้ายอมรับกัน
เรียนท่านผู้อ่านทุกท่านกรุณาอ่านให้จบแม้ข้อเขียนจะยาว
แล้วท่านจะทราบว่าการสร้างเครือข่ายของอำมาตย์และเผด็จการ
มิได้มีเพียงในประเทศไทยเท่านั้น แต่ในต่างประเทศก็ไม่เว้น
ข้อเขียนนี้กล่าวถึงสถาบันการศึกษาที่มีชื่อเสียงระดับโลกซึ่งเป็นเป้าหมาย
ที่อำมาตย์และบริวารเอาเงินบริจาคนำทางสร้างความน่าเชื่อถือให้ตนในสายตาชาวโลก


ก่อนลงลึกไปสู่บทความตามท้องเรื่อง
ขอแนะนำตัวละครหลักของเรื่องอื้อฉาวที่ดังกระฉ่อนไปทั้งโลกอยู่ในขณะนี้
จากเรื่องที่ลงในเวป Harvard Crimson ของมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดรัฐ Massachusetts

http://www.thecrimson.com/article/2014/8/18/harvard-thai-troubles/
ในหัวเรื่อง Troubles with Thai Studies ที่เขียนโดยอิเลีย การ์เกอร์ (ILYA GARGER)
แต่ตัวละครหลักที่จะแนะนำในข้อเขียนนี้มีด้วยกัน 4 ท่านได้แก่



[​IMG]

1. ธรรมศาสตราภิชาน ดร.สุรินทร์ พิศสุวรรณ
ศิษย์เก่ามหาวิทยาลัย Harvard
อดีตรองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ อดีตสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ในรัฐบาลนายชวน หลีกภัย
เคยดำรงตำแหน่งเลขาธิการอาเซียน ซึ่งมีวาระ 5 ปี เริ่มตั้งแต่ 1 มกราคม พ.ศ. 2551
สิ้นสุดวาระเมื่อ 1 มกราคม พ.ศ. 2556 โดยนั่งทำงานที่กรุงจาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย



[​IMG]

2. ศาสตราจารย์พิเศษ ดร. สุรเกียรติ์ เสถียรไทย
ศิษย์เก่ามหาวิทยาลัย Harvard
อดีตรองหัวหน้าพรรคไทยรักไทย อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรพรรคไทยรักไทย
อดีตรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสมัยรัฐบาลทักษิณ ชินวัตร
อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังสมัยรัฐบาลบรรหาร ศิลปอาชา
อดีตที่ปรึกษานายกชาติชาย ชุณหะวัณ เคยถูกเสนอชื่อเป็นเลขาธิการองค์การสหประชาชาติ
ในนามของ 10 ประเทศอาเซียนโดยการสนับสนุนของรัฐบาลทักษิณ ชินวัตร



[​IMG]

3. พีร์ เหมะรัชตะ แพทย์บัณฑิตดีเด่นแห่งชาติปี 2549
นักเรียนทุนใน มูลนิธิสมเด็จพระมหิตลาธิเบศ อดุลยเดชวิกรม พระบรมชนก
ปัจจุบันเป็นนักวิจัยจุลินทรีย์ชีวภาพ ควบคู่กับการศึกษาในระดับปริญญาเอก
ที่ UCLA มหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงระดับแนวหน้าของโลก ตั้งอยู่ที่แอลเอ สหรัฐอเมริกา
พีร์ เหมะรัชตะจบบัณฑิตแพทย์จากวิทยาลัยเบเลอร์เมื่อปี 2548
ได้รับการบรรจุเข้าเป็นอาจารย์ ประจำหน่วยแบคทีเรีย ภาควิชาจุลชีววิทยา
คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในปีเดียวกันด้วยวัยเพียง 24 ปี
ได้รับคัดเลือกเป็น "แพทย์ดีเด่นแห่งชาติ" เมื่อวันที่ 24 กันยายน 2549
ซึ่งเป็นวันคล้ายวันสวรรคตของสมเด็จพระมหิตลาธิเบธ อดุลยเดชวิกรม
"บิดาแห่งการแพทย์แผนปัจจุบัน"


4. Ilya Garger (อิเลีย การ์เกอร์)
The founder of Capital Profile,
a Hong Kong-based business research service.
He is a former reporter for Time magazine, and a member of the Harvard Club
of Thailand’s executive committee.


เรื่องอื้อฉาวกระฉ่อนโลก
เริ่มต้นจาก 2 ศิษย์เก่าคนดังของมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด สุรินทร์ พิศสุวรรณ และ สุรเกียรติ์ เสถียรไทย
ร่วมกันรณรงค์หาทุนจำนวน 6 ล้านดอลล่าร์บริจาคให้มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดเพื่อให้สถาบันการศึกษาแห่งนี้
ให้การสนับสนุนให้ "Thai Studies" เป็นหลักสูตรการศึกษาถาวรในมหาวิทยาลัย Harvard
เพื่อเป็นการเทอดพระเกียรติสถาบันพระมหากษัตริย์ไทยและเพื่อผลประโยชน์ของประเทศไทย


มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด
เคยเออออไปกลับการอวยสถาบันกษัตริย์ไทยมาตั้งแต่ปี 2012
แต่ไม่ใช่ปีนี้ ไม่ใช่หลังจากการทำรัฐประหารเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม 2557
เนื่องจากทั้งสถาบันกษัตริย์และศิษย์เก่าคนดังทั้งสองไม่เคยอีนังขังขอบกับการทำรัฐประหาร
ไม่รู้ร้อนรู้หนาวกับประชาชนที่ถูกย่ำยี่ ไม่แยแสกับการไล่ล่า จับกุมคุมขังและละเมิดสิทธิมนุษยชน
ของประชาชน นักการเมืองและนักวิชาการโดยคณะรัฐประหารและเผด็จการเบ็ดเสร็จ


ทั้งสุรินทร์ พิศสุวรรณและสุรเกียรติ์ เสถียรไทย ต่างให้ความร่วมมือกับ กปปส.
ที่ป่วนเมืองนานกว่า 6 เดือน เปิดทางสร้างความชอบธรรมให้กับการทำรัฐประหาร
และยังสนับสนุนและให้ความร่วมมือกับประยุทธิ์ จันทร์โอชาและคณะรัฐประหารตลอดมาอย่างต่อเนื่อง

Professor Michael Herzfeld
หนึ่งในบรรดาคณาจารย์ที่ประสาทวิชา ณ มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดได้ออกหน้า
ตั้งข้อสังเกตุและชี้ประเด็นที่ให้มหาวิทยาลัยคง "Thai Studies" เป็นหลักสูตรถาวรว่า
หลักสูตรการเรียนการสอนของฮาร์วาดไม่ควรผูกพันกับผลประโยชน์ทางการเมืองของผู้บริจาค


ศาสตราจารย์ผู้ประสาทวิชาท่านนี้ได้อิเมลรายละเอียดจุดยืนของตน
ให้กับ Ilya Garger ซึ่งเป็นหนึ่งในคณะกรรมการบริหารของชมรมศิษย์เก่าฮาร์วาร์ดในประเทศไทย
ในขณะที่ได้รับอิเมล์และเขียนบทความ Troubles with Thai Studies ไปลงที่เวปของ Harvard Crimson
อิเลีย การ์เกอร์ ยังอาศัยอยู่ในประเทศไทย


Troubles with Thai Studies เป็นบทความค่อยข้างยาว
เข้าถึงผู้อ่านจำนวนมากและได้รับการตอบสนองอย่างกว้างขวางอย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นกับเวปนี้มาก่อน
สาระของบทความ Troubles with Thai studies ที่ Harvard University
ข้อเขียนนี้มิอาจนำมาแจกแจงเป็นอักขระ นอกจากผู้อ่านจะเปิดลิ้งค์อ่านกันเองเท่านั้น


อนิจจา....สาระของบทความนี้พวกคลั่งเจ้ารับไม่ได้
Troubles with Thai Studies จึงถูกถอดออกจากเวป Harvard Crimson
หลังจากที่ "พีร์ เหมะรัชตะ" นักเรียนทุนในมูลนิธิสมเด็จพระมหิตลาธิเบศอดุลยเดชวิกรม พระบรมชนก
ได้ประกาศผ่านเฟสบุ๊ค "ขู่ฆ่า" ผู้เขียนบทความนี้ว่า


“I swear that if I saw this MF on the street
I’d elbow his middle meningeal artery and leave him dead from epidural hematoma,”


MF เป็นคำย่อภาษาอังกฤษเป็นคำสบถมีความหมายไม่สุภาพ
คำขู่ฆ่าของ "พีร์ เหมะรัชตะ" นักเรียนทุนใน "พระบรมชนก" จึง มีความหมายคร่าวๆ ดังนี้
"กูขอสาบาน ถ้ากูเจอไอ้แม่ง MF นี่บนถนน กูจะเอาศอกสับแม่งกลางกระบาล
ให้แม่งมันตายข้างถนนจากเลือดออกในสมอง"
เนื่องจากผู้ "ขู่ฆ่า" เป็นแพทย์จึงใช้ภาษาแพทย์ในการขู่ฆ่า
Meningeal Artery แปลว่า "หลอดเลือดแดงที่หล่อเลี้ยงเยื่อหุ้มสมอง"
Epidural Hematoma แปลว่า "เลือดคลั่งในสมอง อาการเลือดออกของเนื้อเยื่อในสมอง"


จากการเปิดเผยของ อิเลีย การ์เกอร์
การถอดบทความออกจากเวปมิได้ถูกกดดันจากมหาวิทบาลัยฮาร์วาร์ด
แต่เป็นเพราะตนยังอยู่ในประเทศไทยเกรงว่านอกจากจะมีอันตรายถึงชีวิตจากพวกคลั่งเจ้าแล้ว
ยังอาจเสี่ยงต่อการถูกข้อหา "หมิ่นเจ้า" อีกด้วย จึงจำเป็นต้องถอดบทความออกจากเวปชั่วคราว
หลังจากเดินทางออกจากประเทศไทยไปอยู่ฮ่องกงอย่างปลอดภัยแล้ว จึงอัพโหลดบทความขึ้นเวปอีกครั้ง


แม้บทความจะถูกทอดออกจาก Harvard Crimson
แต่ก็ยังมีไอ้เสือปืนไวอย่าง Andrew MacGregor Marshall
อดีตนักข่าว นักสู้จากสำนักข่าว Reuters ผู้นี้ได้นำเอาบทความนี้ไปขยายต่อ
ในหนังพิมพ์ LA Weekly ทำให้เรื่อง Troubles with Thai Studies ฉาวกระฉ่อนโลกกว้างขวางขึ้นไปอีก


LA Weekly เป็นหนังสือพิมพ์รายสัปดาห์ขนาด tabloid
เป็นหนังสือพิมพ์แจกฟรีรูปเล่มหนาเตอะเนื่องจากมีโฆษณาเกือบจะหน้าเว้นหน้า
มีผู้อ่านเป็นแสน เพราะได้รับแรงดึงดูดจากบทความดีๆ ที่หนังสือพิมพ์ฉบับนี้นำเสนอ โฆษณาจึงตามมา

http://www.laweekly.com/informer/2014/08/20/dorkiest-death-threat-ever-harvard-crimson-pulls-story-after-threat-from-ucla-fellow

จาก LA Weekly ที่มีผู้อ่านนับแสนสู่สื่อทีวี
สำนักข่าว CBS รับไม้ต่อ เอาเรื่อง Troubles with Thai Studies ที่มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด
เผยแพร่ทั้งเรื่องและภาพออกอากาสผ่านสถานีโทรทัศน์ช่อง 2 และช่อง 9 สู่ผู้ชมนับล้านคน
ทั่วประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อค่ำวันพฤหัสบดีที่ 21 สิงหาคม 2014 ที่ผ่านมา
http://losangeles.cbslocal.com/2014/08/21/ucla-microbiologist-accused-of-making-bizarre-death-threat-on-facebook/

ผู้ประกาศข่าวของ CBS บอกผู้ชมรายการว่า
ติดต่อขอความเห็นจาก "พีร์ เหมะรัชตะ" ไม่ได้
เนื่องจากบุคคลผู้นี้ได้ตัดขาดการสื่อสารทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นเฟสบุ๊คหรือการติดต่อสื่อสารอย่างอื่น
พีร์ เหมะรัชตะ หลังจากจิตใต้สำนึก "ฆาตรกร" ปรากฎ
จะอยู่ในสังคมอารยะเฉกเช่นสังคมของผู้รู้ในสถาบันการศึกษาได้อย่างไร
UCLA ซึ่งมีประชากรใน campus หลายหมื่นคนคงไม่ต้องการมี "พีร์ เหมะรัชตะ" อยู่ร่วมสถาบันเป็นแน่


สื่อมวลชนในสหรัฐอเมริกาซึ่งมีเสรีภาพอย่างสูงในการรายงานข่าวคงจิกไม่ปล่อยเพื่อตีแผ่เรื่องราวสู่การรับรู้ของสังคมต่อไป
และจะมีใครชื่อบ้างไหมว่าสหรัฐอเมริกา ประเทศประชาธิปไตยชั้นนำของโลกจะปล่อยให้ "พีร์ เหมะรัชตะ" ผู้ขู่ฆ่าคนอเมริกัน ประชาชนของตนลอยนวลโดยไม่ทำอะไรเลย


เสียงวิหกน้อยในราวป่า กระพึอปีกโผขึ้นสู่เวหา
เป็นสัญญาณเตือนให้สัตว์ป่าน้อยใหญ่ต้องตื่นตัวระวังภัย
"คำขู่ฆ่าของพีร์ เหมะรัชตะ" ก็เป็นสัญญาณเตือนประชาคมโลก
ให้ต้องหันมาระวังภัยจากอำมาตย์และเผด็จการไทยเฉกเช่นเดียวกัน


นั่นคือเรื่องเลวๆหลายๆ เรื่องของอำมาตย์และเผด็จการไทย
ที่นานาประเทศแสร้งทำเป็นมองไม่เห็นในอดีตจะถูกนำกลับมาสู่ความสนใจของประชาคมโลกอีกครั้งเช่น


1. เรื่องการค้ายาเสพติดที่เป็นข่าวอื้อฉาวตั้งแต่อดีตยันปัจจุบัน จาก Seattle ในเที่ยวสุดท้ายกฐินวัดไทย
ถึงสะใภ้เจ้าที่ London และจากสะใภ้อวบที่ Paris ถึงข้าทาสบริวารที่ Taiwan ทั้งนี้ยังไม่นับเหตุการณอัปยศ
ที่นายกรัฐมนตรีของประเทศไทยจะต้องลุกจากที่ประชุม ครม. มาแก้ปัญหาให้ผู้ส่งเสียงมาตามสายครั้งแล้วครั้งเล่า


2. เรื่องปริศนา Blue Diamond สู่การลดระดับความสัมพันธ์ทางการฑูตของซาอุดิอารเบีย ที่ปัจจุบันอยู่ในระดับเลขาฑูต

3. เรื่องการละเมิดสิทธิมนุษชนและการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ ทั้งนี้อาจให้ความสนใจศพเด็กอีกนับพันศพที่วัดไผ่เงินด้วย

4. เรื่องการปล้นอำนาจอธิปไตยของประชาชนไทยและการตั้ง ครม.แบบคลุมถุงชนของประยุทธ์ จันทร์โอชา

5. นานาประเทศคงไม่หลับตาทำเป็นไม่รู้ไม่เห็นกับแผนการของคณะ คสช.ที่จะส่งรายชื่อคนไทยในต่างแดนให้กับ
สถานกงสุล สถานฑูต และสถานเอกอัครราชฑูตไทยทั่วโลกให้จับตาดูความเคลื่อนไหวของคนไทยที่มีรายชื่อเหล่านั้น
หลังจาก "การขู่ฆ่า" ที่พีร์ เหมะรัชตะ ประกาศผ่านเฟสบุ๊คมาหยกๆ เป็นแน่


ข้อเขียนนี้อยากสื่อมายัง "พีร์" และตระกูล "เหมะรัชตะ" ทั้งตระกูลรวมทั้งเขยและสะไภ้ว่า
อาการ "คลั่งเจ้า" ของ "พีร์ เหมะรัชตะ" ครั้งนี้ อาจไม่มีผู้ใดใส่ใจว่าเป็นการแสดง "ความจงรักภักดี"
แต่จะถูกมองว่าเป็น "การบ่อนทำลายเจ้า" แทน


พีร์ เหมะรัชตะ โปรดได้รับรู้ว่าการแสดง "ความจงรักภักดี" ของท่านครั้งนี้มีโทษถึงตาย
เนื่องจากท่านทำให้แผนการโน้มน้าวนโยบายต่างประเทศของสหรัฐอเมริกาโดยทีมงานของ คสช.ต้องสดุด
เพราะขณะที่ข้าราชการกระทรวงการต่างประเทศระดับเอกอัครราชฑูตที่เกษียรอายุ แทกทีมกับนักวิชาการวางแผนเดินเกมส์ รุกเร้าและโน้มน้าวสหรัฐอเมริกากำลังปลาบปลื้มมีกำลังใจกับความสำเร็จ ที่สามารถทำให้สหรัฐอเมริกามีท่าทีอ่อนลงได้


แต่การแสดงความจงรักภักดีด้วยคำขู่ฆ่าชาวอเมริกันผู้เขียนบทความ Troubles with Thai Studies ที่ฉาวกระฉ่อนไปทั้งโลก จากสถานบันการศึกษาชั้นนำจาก Massachusetts ถึง California
และจากสื่อสิ่งพิมพ์ถึงสื่อทีวีและสื่อออนไลน์ว่า
"กูขอสาบาน ถ้ากูเจอไอ้ FB นี่บนถนน กูจะตีศอกแม่งกลางกระโหลกให้แม่งมันตายข้างถนนจากเลือดออกในสมอง" ชั่งมาผิดที่ผิดเวลาจริง


สหรัฐอเมริกาคงไม่ปล่อยให้เรื่องนี้ผ่านไปง่ายๆ และก็คงไม่ปล่อยให้ คสช.มาข่มขู่คนไทยถึงถิ่นทั้งที่ยังเป็นโรบินฮู้ด ทั้งผู้ที่ถือใบเขียวและทั้งผู้ที่เปลี่ยนโอนสัญชาติเป็นอเมริกันแล้วเพราะมันเป็นเรื่องของสิทธิมนุษนล้วนๆ ที่สหรัฐอเมริกาประกาศเป็นนโบายหลักมาครั้งแล้วครั้งเล่า

ขอปิดท้ายข้อเขียนด้วยคำเตือนที่ไม่ใช้คำขู่ว่า
"เสร็จนาฆ่าโคถึก เสร็จศึกฆ่าขุนพล" เกิดขึ้นในประเทศไทยทุกยุคทุกสมัย
"พีร์"และตระกูล "เหมะรัชตะ" จงเตรียมตัว แม้ท่านมิใช่โคถึก แม้พวกท่านมิใช่ขุนพล"พีร์ เหมะรัชตะ" ฉลาดเรียนเก่ง ได้ที่ 1 ที่ 2 มาตลอดท่านคงรู้ว่าอะไรจะเกิดขึ้น


ถ้าท่านทำให้อำมาตย์เสียเกียรติ์ทำให้ทหารเสียศักดิ์ศรี
และยิ่งต้องเสียประโยชน์รวมเข้าไปด้วย การเอาชีวิตของท่านมาสังเวย
ยังไม่สามารถทำให้อำมาตย์และเผด็จการทหารหายแค้นได้



RED USA
August 21, 2014​

Tuesday, August 5, 2014

Thailand: allegations of torture against activist Kritsuda Khunasen require immediate investigation

The Royal Thai Government must conduct a prompt, independent and impartial investigation into allegations that military officers subjected Kritsuda Khunasen to torture, while holding her in incommunicado detention at a secret location for nearly one month, the ICJ said today.
On 27 May 2014, Kritsuda Khunasen, an activist associated with the United Front for Democracy against Dictatorship (UDD), and well-known for providing assistance to people arrested and detained following the political violence of 2010, was arrested by soldiers from the 14th Military Circle in Chonburi Province.
In an interview posted on YouTube on Saturday, Kritsuda Khunasen alleges that for the initial seven days of her detention she was kept blindfolded and her hands were bound.
She also alleges military officers beat her several times.
“Kritsuda’s allegations that she was subjected to torture and other ill-treatment as well as arbitrary detention by military officers are deeply concerning and require an immediate investigation,” said Wilder Tayler, Secretary General of the ICJ. “Her account, if verified, suggests that she is the victim of serious human rights violations which require that the perpetrators be held responsible and that she be provided with an effective remedy and reparation. Of fundamental importance is that any investigation be carried out by an independent and impartial body, particularly as the perpetrators are alleged to be military officers.”
While all these allegations have been denied by the military authorities, Kritsuda Khunasen added they suffocated her with a plastic bag and a piece of fabric, covering her head, until she lost consciousness, after which time she was placed in a zipped body bag.
A female officer bathed her and would take off her trousers so she could use the bathroom.
On one occasion she heard a man’s voice in the room while she was naked and blindfolded in the bath.
Under Martial Law, imposed throughout Thailand since the military coup of 22 May 2014, the military is authorized to hold people in administrative detention for no longer than seven days.
However, in Saturday’s interview, Kritsuda claimed that on 15 June, the military forced her to sign a document stating she had asked the military to allow her to stay in custody for longer than seven days and that she felt safer inside the military camp.
Initially, the military refused to acknowledge whether she was in detention.
But on 20 June, the military admitted that Kritsuda Khnasen had been detained and her whereabouts were not revealed to help her “meditate.”
And on 23 June, Kritsuda appeared on national television and said she had been “happier than words can say” during her time in the military camp.
She was released the following day, 29 days after her arrest. At no time during her detention was she brought before a judicial authority.
The absolute right of all persons to be free from torture and other ill-treatment in any circumstances is affirmed in a number of international human rights instruments, including two treaties to which Thailand is a party: the International Covenant on Civil and Political Rights (ICCPR) and the Convention against Torture and Other Cruel, Inhuman or Degrading Treatment or Punishment(CAT). The ICCPR also provides for freedom from arbitrary detention.
If the allegations are substantiated, Kritsuda Khunasen’s case would be the first confirmed case of torture since the military coup, and would fly in the face of the National Council for Peace and Order’s public statements that there has been no torture since it took power.
It would also undermine Thailand’s repeated commitment to respecting and implementing CAT in Thailand – most recently before the Committee Against Torture in Geneva on 1 May 2014.
In it’s Concluding Observations, the Committee Against Torture expressed its deep concern at the declaration of Martial Law throughout Thailand and urged Thailand to “adhere strictly to the absolute prohibition of torture and ensure that the application of Martial Law throughout Thailand under no circumstances violates the rights guaranteed in the Convention.”
A state’s duty to prohibit torture and other ill-treatment includes a duty to initiate a prompt and impartial investigation when a complaint is made or, in the absence of a complaint, when the authorities have reasonable grounds to believe that such an act has been committed.
A failure by a state to investigate allegations of torture or other ill-treatment is a violation of the right to an effective remedy and the right not to be subjected to torture or ill-treatment.
International human rights law requires Thailand to carry out these duties notwithstanding the immunities provided to the National Council for Peace and Order and the military by Martial Law and the Thai Interim Constitution.
แปล // โฆษกสำนักงานข้าหลวงใหญ่ด้านสิทธิมุนษยชนสหประชาติแถลงแสดงความวิตกกังวลต่อวิธีการจับกุมและควบคุมตัวบุคคลที่เป็นนักการเมือง นักกิจกรรม นักวิชาการตลอดจนสื่อในเมืองไทยหลังการรัฐประหาร โดยบอกว่า วิธีการที่ผู้ถูกจับกุมและควบคุมตัวไม่สามารถติดต่อกับใครได้อาจเป็นเงื่อนไขให้มีการละเมิดสิทธิรวมไปถึงถูกซ้อมทรมานได้ คำแถลงของราวินา ชัมดาซานี โฆษกของสำนักงานข้าหลวงใหญ่ด้านสิทธิมนุษยชนของยูเอ็นยังเรียกร้องให้ทางการไทยสอบสวนข้อกล่าวหาที่ว่าได้มีการทำร้ายนส.กริชสุดา คุณะแสน ในระหว่างที่เธอถูกควบคุมตัว พร้อมกับนำตัวผู้กระทำผิดมาลงโทษหากเป็นความจริง พร้อมกับระบุว่า ตามกฎหมายระหว่างประเทศและตามนโยบายของยูเอ็น การนิรโทษกรรมทำไม่ได้ถ้าทำให้ไม่มีการนำตัวผู้กระทำผิดอย่างในกรณีที่ค่อนข้างหนักรวมถึงการซ้อมทรมานมาลงโทษได้ ในเอกสารที่สำนักงานแจกจ่ายออกมาวันนี้ (5 สค.) ให้ข้อมูลว่า ตั้งแต่ 22 พค.มีการเรียกตัวและจับกุมบุคคลไปกว่า 700 คน แม้ว่าจำนวนมากจะได้รับการปล่อยตัวภายในเวลาสัปดาห์หนึ่ง ซึ่งเป็นไปตามกฎอัยการศึก แต่อีกจำนวนหนึ่งที่ไม่ชัดว่าเท่าไหร่ถูกคุมตัวมากกว่าเจ็ดวันโดยที่ไม่ได้ติดต่อญาติหรือทนาย ถ้อยแถลงของโฆษกสำนักงานชี้ว่า จุดนี้ทำให้น่าวิตกว่าการคุมตัวในลักษณะดังกล่าว จะสร้างเงื่อนไขในอันที่จะทำให้มีการละเมิดสิทธิได้ พร้อมกับระบุว่า กรณีกริชสุดา คุณะแสน ว่าเป็นตัวอย่างที่ทำให้น่าวิตกมากขึ้น โฆษกของสำนักงานให้รายละเอียดว่า ข้อมูลที่นส.กริชสุดาบอกเล่ากับสื่อและองค์กรสิทธิ มีรายละเอียดว่า เธอถูกจับตั้งแต่ 28 พค.ถูกปิดตาไว้เจ็ดวันเต็ม ถูกทำร้ายและช่วงหนึ่งหมดสติเพราะมีการใช้ถุงดำครอบศรีษะ ในส่วนของการดำเนินการของสำนักงานเอง โฆษกสำนักงานให้ข้อมูลว่า เมื่อวันที่ 16 กค. ข้าหลวงใหญ่ด้านสิทธิมนุษยชนได้แสดงความวิตกกับทางการไทยถึงการที่ไม่มีข้อมูลเรื่องของนส.กริชสุดาออกมาสู่สาธารณะ และก่อนหน้านั้นเมื่อ 11 มิย. ข้าหลวงใหญ่ได้สื่อสารกับทางการไทยว่า การใช้มาตรการฉุกเฉินใดๆจะต้องเคารพมาตรฐานทั่วไปในเรื่องสิทธิมนุษยชน ไม่ละเมิดอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมืองซึ่งไทยเป็นผู้ร่วมลงนามด้วย รวมทั้งไม่อาจละเมิดหลักการในเรื่องสิทธิในการที่จะสามารถใช้ชีวิตของตนเองและไม่ถูกทำร้ายไม่ว่าในกรณีใดๆ และบอกว่าจนถึงบัดนี้ทางการไทยยังไม่ได้ตอบสนองหรือแสดงปฏิกิริยาต่อข้อกังวลเหล่านี้อย่างเป็นเรื่องเป็นราวแต่อย่างใด ทางด้านเจ้าหน้าที่ขององค์การนิรโทษกรรมสากลเปิดเผยว่า ได้พูดคุยกับนส.กริชสุดาแล้ว เตรียมนำข้อมูลในเรื่องนี้ใส่ไว้ในรายงานเกี่ยวกับสถานการณ์ด้านสิทธิมนุษยชนของไทยซึ่งคาดว่าจะเผยแพร่ในสัปดาห์สุดท้ายของเดือนสิงหาคมนี้ ก่อนหน้านี้พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติกล่าวไว้ว่า ทางการไทยได้พบปะกับตัวแทนขององค์การนิรโทษกรรมสากล หลังจากมีการพูดคุยกันแล้วพบว่า นิรโทษกรรมสากลมีความเข้าใจใน รธนไทยชั่วคราว.