Sunday, May 9, 2010

หลักการสำคัญในการยุบสภา

หลักการสำคัญในการยุบสภา
ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 หลักการสำคัญในการยุบสภาสามารถพิจารณาภายใต้บทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญได้ ดังนี้[1]

1.การยุบสภาเป็นพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์ (มาตรา 108 วรรคหนึ่ง) เนื่องจากพระองค์ทรงเป็นประมุขแห่งรัฐ พระมหากษัตริย์ทรงไว้ซึ่งพระราชอำนาจที่จะยุบสภาผู้แทนราษฎรเพื่อให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรใหม่ อย่างไรก็ตาม เนื่องจากพระองค์ทรงอยู่เหนือการเมือง ดังนั้น จะทรงใช้พระราชอำนาจนี้ต่อเมื่อนายกรัฐมนตรีทูลเกล้าฯ ขอพระบรมราชานุญาตเท่านั้น
2.การยุบสภาผู้แทนราษฎรต้องออกเป็นพระราชกฤษฎีกา (มาตรา 108 วรรคสอง) เมื่อประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วย่อมมีผลเป็นการยุบสภาทันที ในการนี้ย่อมต้องกำหนดวันเลือกตั้งทั่วไป ภายในระยะเวลาไม่น้อยกว่า 45 วันแต่ไม่เกิน 60 วัน นับแต่วันยุบสภาผู้แทนราษฎร และวันเลือกตั้งนั้นต้องกำหนดเป็นวันเดียวกันทั่วราชอาณาจักร
3.การยุบสภาผู้แทนราษฎรจะกระทำได้เพียงครั้งเดียวในเหตุการณ์เดียวกัน (มาตรา 108 วรรค 3) หมายถึง หากมีจะการยุบสภาอีกครั้ง มิอาจอ้างเหตุผลหรือเหตุการณ์ที่ใช้ในการยุบสภาครั้งก่อนได้
4.การยุบสภาผู้แทนราษฎรกระทำลงก่อนครบวาระของสภา คือ สามารถกระทำในเวลาใดก็ได้ ในช่วงก่อนสภามีวาระครบ 4 ปี แม้อยู่ในช่วงปิดสมัยประชุมสภา อย่างไรก็ตาม กรณีมีการเสนอญัตติเพื่อขอเปิดอภิปรายทั่วไปเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจนายกรัฐมนตรีแล้ว ย่อมไม่สามารถยุบสภาได้
5.การยุบสภาผู้แทนราษฎรทำให้สมาชิกภาพของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสิ้นสุดลง (มาตรา 106)
อนึ่ง คณะรัฐมนตรีที่พ้นจากตำแหน่ง ต้องอยู่ในตำแหน่งเพื่อปฏิบัติหน้าที่ต่อไป จนกว่าคณะรัฐมนตรีที่ตั้งขึ้นใหม่จะเข้ารับหน้าที่ แต่ในกรณีพ้นจากตำแหน่งจากการยุบสภาผู้แทนราษฎร คณะรัฐมนตรีและรัฐมนตรีจะปฏิบัติหน้าที่ได้เท่าที่จำเป็น ภายใต้เงื่อนไขที่กำหนด ได้แก่

ไม่กระทำการอันเป็นการใช้อำนาจแต่งตั้งหรือโยกย้ายข้าราชการซึ่งมีตำแหน่งหรือเงินเดือนประจำ หรือพนักงานของหน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือกิจการที่รัฐถือหุ้นใหญ่ หรือให้บุคคลดังกล่าวพ้นจากการปฏิบัติหน้าที่หรือพ้นจากตำแหน่ง หรือให้ผู้อื่นมาปฏิบัติหน้าที่แทน เว้นแต่จะได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการการเลือกตั้งก่อน
ไม่กระทำการอันมีผลเป็นการอนุมัติให้ใช้จ่ายงบประมาณสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น เว้นแต่จะได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการการเลือกตั้งก่อน
ไม่กระทำการอันมีผลเป็นการอนุมัติงานหรือโครงการ หรือมีผลเป็นการสร้างความผูกพันต่อคณะรัฐมนตรีชุดต่อไป
ไม่ใช้ทรัพยากรของรัฐหรือบุคลากรของรัฐเพื่อกระทำการใดซึ่งจะมีผลต่อการเลือกตั้ง และไม่กระทำการอันเป็นการฝ่าฝืนข้อห้ามตามระเบียบที่คณะกรรมการการเลือกตั้งกำหนด
ส่วนสมาชิกภาพของสมาชิกวุฒิสภาหาได้สิ้นสุดลงจากการยุบสภาผู้แทนราษฎรไม่ ดังนั้น จึงยังคงต้องปฏิบัติหน้าที่ต่อไป จะมีการประชุมวุฒิสภามิได้ เว้นแต่เป็นกรณีดังต่อไปนี้ (มาตรา 132)

การประชุมที่ให้วุฒิสภาทำหน้าที่รัฐสภา เช่น การแต่งตั้งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ การแก้ไขเพิ่มเติมกฎมณเฑียรบาล การแต่งตั้งพระรัชทายาท การประกาศสงคราม เป็นต้น
การประชุมที่ให้วุฒิสภาทำหน้าที่พิจารณาให้บุคคลดำรงตำแหน่งใดตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ
การประชุมที่ให้วุฒิสภาทำหน้าที่พิจารณาและมีมติให้ถอดถอนบุคคลออกจากตำแหน่ง
[แก้] ข้อดีและข้อเสียของการยุบสภา
การยุบสภานี้ มีข้อดีประกาศสำคัญ คือ เป็นทางออกในการแก้ไขปัญหาตามวิถีทางในระบอบประชาธิปไตยในระบบรัฐสภา เพื่อคืนอำนาจให้แก่ประชาชน อย่างไรก็ตาม การยุบสภานั้นมีผลเสียประการสำคัญคือ ทำให้สิ้นเปลืองงบประมาณเป็นจำนวนมาก และเป็นความเสี่ยงประการหนึ่งของรัฐบาลที่ยุบสภา กล่าวคือ รัฐบาลชุดเดิมอาจมิได้รับการเลือกตั้งกับเข้ามาเป็นรัฐบาลอีกครั้งหนึ่ง ตลอดจนการยุบสภาอาจเป็นเครื่องมือของรัฐบาลในการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าอย่างไม่ชอบธรรมต่อฝ่ายตรงข้าม แม้เหตุผลในการยุบสภาจะมิขัดต่อกฎหมายก็ตาม

[แก้] การยุบสภาในประวัติศาสตร์ไทย
การยุบสภาในประวัติศาสตร์การเมืองไทย เกิดขึ้นมาแล้วรวมทั้งสิ้น 12 ครั้ง ครั้งแรกเกิดขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2481 ในรัฐบาลพระยาพหลพลพยุหเสนา ครั้งล่าสุดเกิดขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2549 ในรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร การยุบสภาทั้ง 12 ครั้ง มีดังนี้[2][3]

ครั้งที่ วันที่ นายกรัฐมนตรี เหตุผลในการยุบสภา
1 11 กันยายน พ.ศ. 2481 พันเอกพระยาพหลพลพยุหเสนา รัฐบาลขัดแย้งกับสภา
2 15 ตุลาคม พ.ศ. 2488 หม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช สภาผู้แทนมีการยืดอายุมานานในช่วงสงคราม จนสมควรแก่เวลา
3 16 ธันวาคม พ.ศ. 2516 นายสัญญา ธรรมศักดิ์ สมาชิกสภานิติบัญญัติลาออก จนไม่อาจทำหน้าที่ของสภาได้
4 12 มกราคม พ.ศ. 2519 หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช ความขัดแย้งภายในรัฐบาล
5 19 มีนาคม พ.ศ. 2526 พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ สภาผู้แทนราษฎรขัดแย้งกับวุฒิสภา กรณีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ
6 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2529 พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ รัฐบาลขัดแย้งกับสภา กรณีการตราพระราชกำหนด
7 29 เมษายน พ.ศ. 2531 พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ความขัดแย้งภายในรัฐบาล
8 29 มิถุนายน พ.ศ. 2535 นายอานันท์ ปันยารชุน เกิดวิกฤตทางการเมือง
9 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2538 นายชวน หลีกภัย ความขัดแย้งภายในรัฐบาล
10 27 กันยายน พ.ศ. 2539 นายบรรหาร ศิลปอาชา ความขัดแย้งภายในรัฐบาล
11 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2543 นายชวน หลีกภัย ใกล้ครบวาระ
12 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2549 พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร เกิดวิกฤตการณ์การเมือง

[แก้] อ้างอิง
1.^ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550
2.^ มานิตย์ จุมปา. สารานุกรมรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (พ.ศ. 2540) หมวดองค์กรทางการเมือง เรื่อง 7. การยุบสภา. กรุงเทพฯ : องค์การค้าของคุรุสภา, 2544. 41 หน้า. ISBN 974-00-8337-4
3.^ สิริรัตน์ เรืองวงษ์วาร. ประวัติศาสตร์การเมืองไทย ตั้งแต่เปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 จนถึงปัจจุบัน. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง, 2539. 632 หน้า. ISBN 974-599-876-4

Tuesday, May 4, 2010

เตือนความทรงจำที่ให้รับๆไปก่อนเถอะ(บทเรียนที่เจ็บปวด)

เตือนความทรงจำที่ให้รับๆไปก่อนเถอะ(บทเรียนที่เจ็บปวด)
ม.309 ทำให้เห็นความระยำของคน
Sat, 05/01/2010 - 10:45 | by jegkabot | Report topic

บทความนี้ ผู้เขียนใช้ชื่อ "สินธร" (เอามาจากพันทิป)

ม.309 ในร่างรัฐธรรมนูญของระบอบเผด็จการ : บทบัญญัติแห่งการทำลายหลักนิติศาสตร์

มาตรา 309 บัญญัติว่า "บรรดาการใดๆ ที่ได้รับรองไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว)
พุทธศักราช 2549 ว่าเป็นการชอบด้วยกฏหมายและรัฐธรรมนูญ รวมทั้งการกระทำที่เกี่ยวเนื่องกับกรณีดังกล่าว
ไม่ว่าก่อนหรือ หลัง วันประกาศใช้รัฐธรรมนูญนี้
ให้ถือว่าการนั้นและการกระทำนั้นชอบด้วยรัฐธรรมนูญนี้"

บทกฎหมายมาตรานี้ เข้าใจไม่ยาก
ผู้อ่านแม้ไม่ได้ศึกษากฎหมายมาก็สามารถทำความเข้าใจได้ในระดับหนึ่งว่าเป็นการ
"รับรองความชอบด้วยกฎหมาย" ให้กับการกระทำที่ผิดกฎหมาย ทั้งการรัฐประหาร
และการกระทำทั้งหลายอื่นที่เกี่ยวเนื่องกับการทำรัฐประหาร เช่น การกระทำของ คตส.
การกระทำของตุลาการรัฐธรรมนูญ การกระทำของกกต. การกระทำของสสร. การกระทำของคปค.ที่กลายร่างมาเป็นคมช.
เป็นต้น

นอกจากนี้บทบัญญัติดังกล่าวยังขยายความไปถึงการกระทำก่อนหน้าการประกาศใช้และภายหลังการประกาศใช้รัฐธรรมน
ูญในระบอบเผด็จกาจ ซึ่งมีผลที่สำคัญอย่างน้อยสองประการ

ประการแรก เท่ากับว่า เป็นการรับรองให้กับการกระทำของคณะรัฐประหารกับพวกล่วงหน้าว่าชอบด้วยกฎหมาย
ทั้งที่การกระทำเหล่านั้นยังไม่เกิดขึ้น ซึ่งหมายความว่า ต่อไปในภายภาคหน้า
คณะรัฐประหารกับพวกจะทำอะไรที่เป็นการผิดกฎหมายก็ให้ถือว่าเป็นการชอบด้วยกฎหมายและชอบด้วยรัฐธรรมนูญนี้
แล้วการนำรัฐธรรมนูญในระบอบเผด็จการมาทำประชามติลวงโลก นี่เป็นการให้ความรับรองในลักษณะให้ประชาชน
“ลงลายมือชื่อในหนังสือมอบอำนาจเปล่า” เพื่อคณะรัฐประหารกับพวกจะไปกรอกข้อความอะไร อย่างไร เมื่อใดก็ได้

ประการที่สอง การเขียนบทกฎหมายเช่นนี้ มีผลให้อำนาจรัฐประหาร 19/9/49
ยังคงอยู่คู่กับสังคมการเมืองไทยต่อไป ตราบเท่าที่ม.309 ของรัฐธรรมนูญในระบอบเผด็จการนี้ยังคงอยู่
กรณีเช่นนี้ ต่อข้ออ้างว่า “รับไปก่อน เพื่อให้บ้านเมืองสงบสุข คมช.จะได้กลับเข้ากรมกอง”
จึงเป็นข้อกล่าวอ้างที่ปราศจากความจริง
เพราะมาตรานี้เป็นมาตราหนึ่งที่เป็นการต่อท่ออำนาจรัฐประหารสืบต่อไปอย่างไม่มีวันสิ้นสุด
หรือหากจะก่อนให้เกิดความสงบสุขก็เป็นความสงบสุขของคณะรัฐประหารกับพวกที่จะทำอะไรก็ได้ตามแต่ใจปรารถนา
แม้จะผิดกฎหมายหรือสร้างความเสียหายเดือดร้อนแก่สมาชิกในสังคม หาใช่ความสงบสุขโดยรวมของประชาชนไม่

เนื้อความของม.309 เช่นนี้
หากมีผลบังคับใช้จะเป็นการทำลายระบบกฎหมายของบ้านเมืองอันมีรากฐานมาร้อยกว่าปี
ทำลายการเมืองในระบอบประชาธิปไตย ทำลายหลักนิติศาสตร์ลงอย่างสิ้นเชิง อาทิเช่น

1.ทำลายหลัก “นิติรัฐ”
ประเทศประชาธิปไตยที่ยอมรับหลักนิติรัฐ
ผู้มีอำนาจต้องยอมตนอยู่ภายใต้กฎหมายที่ตราออกบังคับใช้และต้องถูกตรวจสอบโดยประชาชนหรือผู้แทนของประชาชน
คณะรัฐประหารกับพวกกล่าวเสมอว่าทำตามกฎหมาย คือยอมตนอยู่ภายใต้กฎหมาย
ตนเชื่อถือและเป็นผู้สร้างประชาธิปไตย

แต่มาตรา 309 กลับบ่ายเบี่ยงหลบหลีก ไม่ยอมให้ประชาชนตรวจสอบ ไม่ยอมตนอยู่ภายใต้กฎหมาย
ไม่ว่าจะเป็นการกระทำรัฐประหารของตน การกระทำของพวกพ้องทั้งก่อนหน้าและภายภาคหน้า บทบัญญัติของม.309
เช่นนี้เท่ากับเป็นการยกคณะรัฐประหารกับพวกเป็นอภิสิทธิชน ไม่ต้องอยู่ภายใต้กฎหมาย ไม่ต้องถูกตรวจสอบ
นี่เป็นการทำลายหลักนิติรัฐอย่างชัดเจน ร่างรัฐธรรมนูญในระบอบเผด็จการ จึงเป็นร่างที่ปฏิเสธหลักนิติรัฐ
ร่างรัฐธรรมนูญที่ปราศจากหลักนิติรัฐไม่อาจเป็นรัฐธรรมนูญในระบอบประชาธิปไตยได้

หากคณะรัฐประหารกับพวกเชื่อว่าการกระทำของตนถูกต้องชอบธรรมมีจริยธรรมตามที่พยายามกล่าวอ้าง
เหตุใดจึงต้องกลัวการตรวจสอบ เหตุใดจึงต้องหลบเลี่ยง ถึงขนาดบางคนกล่าวว่า “ม.309 ไม่ใช่นิรโทษกรรม
แต่ป้องกันคนหัวหมอนำไปฟ้อง” ก็แล้วถ้าการกระทำของตน “ชอบด้วยกฎหมาย”
ไยต้องเกรงกลัวการตรวจสอบโดยประชาชน แม้นมีการตรวจสอบ การกระทำที่ชอบก็ยังคงชอบอยู่วันยังค่ำ
เช่นนี้ข้อกล่าวอ้างที่ว่า “คนหัวหมอ” หมายถึงใคร “หัวหมอ” กันแน่

2.ทำลายหลัก “ความเป็นกฎหมายสูงสุดของรัฐธรรมนูญ”
ในระบอบการเมืองแบบประชาธิปไตย นอกจากมีหลักนิติรัฐเป็นส่วนสำคัญแล้ว
การมีรัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดเพื่อจำกัดผู้ใช้อำนาจรัฐและองค์กรของรัฐ มิให้มีอำนาจตามอำเภอใจ
ซึ่งจะกลายเป็น!@#$%^&ย์ในท้ายที่สุด โดยที่ห้ามผู้ใช้อำนาจรัฐและองค์กรของรัฐกระทำการอย่างหนึ่งอย่างใด
ไม่ว่าจะเป็นการใช้อำนาจบริหาร นิติบัญญัติ ตุลาการ
ฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติและหลักการที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ

การห้ามกระทำการขัดหรือแย้งหรือฝ่าฝืนต่อรัฐธรรมนูญนี้เป็นหลักประกันสิทธิเสรีภาพของปวงชนวิถีทางหนึ่ง
และยังบ่งชี้ถึงความเป็นกฎหมายสูงสุดที่ไม่ว่าใครฝ่ายใดละเมิดมิได้

หากแต่ม.309 ได้ทำลายหลัก “ความเป็นกฎหมายสูงสุดของรัฐธรรมนูญ” ลงอย่างน่าละอายใจ
ด้วยการบัญญัติให้การกระทำของคณะรัฐประหารกับพวกที่ทำก่อนหน้า ปัจจุบัน และในอนาคต
แม้จะผิดกฎหมายและไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญก็ “ให้ถือว่า” ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ เช่นนี้หมายความว่า
ไม่ว่าคณะรัฐประหารกับพวกจะกระทำการใดก็ตาม ต่อให้ฝ่าฝืนหรือไม่ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ
ก็สามารถทำได้
ความเป็นกฎหมายสูงสุดที่ห้ามมิให้ผู้หนึ่งผู้ใดหรือองค์กรหนึ่งองค์กรใดละเมิดย่อมสิ้นความศักดิ์สิทธิลง
ความเป็นกฎหมายสูงสุดถูกทำลายลงด้วยบทมาตรา 309

ใครก็ตามไม่อาจละเมิดรัฐธรรมนูญได้ แต่คณะรัฐประหารกับพวกละเมิดได้ นี่หมายความว่าอย่างไร ?

คณะผู้ร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้กำลังสร้างหลักหรือทฤษฎีใหม่ของโลกขึ้นหรืออย่างไร ?

สร้างหลัก “อำนาจอธิปไตยเป็นของคณะรัฐประหารกับพวกเช่นนั้นหรือ ?

โดยมาตรา 309 สิทธิเสรีภาพของปวงชนย่อมไม่อาจหลีกพ้นจากภัยคุกคามของผู้ปกครอง
เนื่องเพราะคณะรัฐประหารกับพวกจะทำอะไรก็ได้ตามแต่ใจปารรถนา แม้ผิดกฎหมายก็ถือว่าชอบฯ

“อำนาจอธิปไตยเป็นของคณะรัฐประหารกับพวก”
คณะผู้ร่างฯกับพวกช่วยอธิบายหน่อยว่าหลักหรือทฤษฎีนี้มีที่มาจากไหน ใครต้นคิด
ปรัชญาเมธีของโลกคนใดสร้างสรรค์ขึ้น ?

3. ฝ่าฝืนหลัก “ห้ามก่อตั้งองค์กรขึ้นเพื่อพิจารณาคดีเป็นการเฉพาะเจาะจง”
หลักการนี้เป็นการประกันสิทธิเสรีภาพของประชาชนมิให้ถูกละเมิดโดยผู้ใช้อำนาจรัฐ
และเป็นการควบคุมมิให้ผู้มีอำนาจและองค์กรของรัฐใช้อำนาจตามอำเภอใจ
ก่อตั้งหรือแต่งตั้งบุคคลหรือคณะบุคคลหรือองค์กรขึ้นเพื่อพิจารณาเอาผิดกับบุคคลหรือเรื่องใดๆเป็นการเฉพา
ะเจาะจง

เช่นเดียวกัน บทมาตรา 309 ได้รับรองการกระทำที่เกี่ยวเนื่องกับการทำรัฐประหาร
ทั้งก่อนหน้าและภายภาคหน้าว่า แม้ผิดกฎหมายก็ให้ถือว่าชอบด้วยกฎหมายและชอบด้วยรัฐธรรมนูญ

การกระทำที่เกี่ยวเนื่องกับการรัฐประหารในความหมายของหลักการ
“ห้ามก่อตั้งองค์กรขึ้นเพื่อพิจารณาคดีเป็นการเฉพาะเจาะจง” เช่น กรณีคตส.และตุลาการรัฐธรรมนูญ

คตส.และตุลาการรัฐธรรมนูญ
มีวัตถุประสงค์เป็นการก่อตั้งขึ้นเพื่อพิจารณาคดีและเรื่องราวเฉพาะเจาะจงภายในช่วงเวลาหนึ่งๆ
หลังจากนั้นจะสลายตัวไป ซึ่งเห็นได้จากกรณีคตส.มีช่วงเวลาหนึ่งปี ภายหลังมีการต่ออายุ คตส. ออกไป
ส่วนตุลาการรัฐธรรมนูญก็ต้องสลายตัวไปหลังจากมีรัฐธรรมนูญ

กรณีทั้งสองจึงอยู่ในความหมายของการขัดต่อหลัก
“ห้ามก่อตั้งองค์กรขึ้นเพื่อพิจารณาคดีเป็นการเฉพาะเจาะจง” ซึ่งมาตรา 309
ได้เขียนในลักษณะขยายความครอบคลุมคุ้มครองไปถึงองค์กรเฉพาะเหล่านี้ด้วย
ไม่ว่าจะกระทำชอบหรือไม่ชอบด้วยกฎหมาย ชอบหรือไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ

หากพิเคราะห์จากคำวินิจฉัยของตุลาการรัฐธรรมนูญ (องค์กรนี้ไม่ใช่ศาล) ในคำวินิจฉัยยุบพรรคการเมือง
ยังไม่มีความชัดเจนหรืออาจกล่าวได้ว่าไม่ได้วินิจฉัยสถานะของตนเลยว่า คืออะไร ? ใช่ศาลหรือไม่ ?
สถานะที่คลุมเครือย่อมกระทบถึงอำนาจในการรับหรือไม่รับข้อพิพาท และอำนาจในการวินิจฉัยข้อพิพาท

ทางด้าน คตส. กระทำการประหนึ่งเป็นหน่วยงานที่มีอำนาจสอบสวน แต่การดำเนินการที่ผ่านมาหลายกรณี
มีปัญหาเกี่ยวกับความชอบด้วยกฎหมายเกือบทั้งสิ้น
กระบวนการสอบสวนที่ต้องดำเนินการไปภายใต้หลักเกณฑ์ของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
ถูกละเลยหลายประการ ซึ่งหากเป็นกรณีของกระบวนการสอบสวนตามกระบวนการของป.วิ.อ.ปกติ
การดำเนินลักษณะเช่นนี้ย่อมหมิ่นเหม่ต่อความชอบด้วยกฎหมายอันอาจมีผลถึงกับทำให้การสอบสวนที่ทำไปนั้น
“เสียไปทั้งหมด” และย่อมส่งผลไปถึงไม่มีอำนาจฟ้องคดีอีกด้วย

ดังนั้น จากการก่อตั้ง คตส.และตุลาการรัฐธรรมนูญ ซึ่งก่อตั้งขึ้นโดยคณะรัฐประหาร เช่นนี้
จึงเป็นการฝ่าฝืนต่อหลัก “ห้ามก่อตั้งองค์กรขึ้นเพื่อพิจารณาคดีเป็นการเฉพาะเจาะจง” อย่างโจ่งแจ้ง

เพียงตัวอย่าง 3 ประการก็ชี้ได้ถึงความน่าขยะแขยงของมาตรา 309
แห่งร่างรัฐธรรมนูญในระบอบเผด็จการอย่างที่ไม่อาจหาได้ในรัฐธรรมนูญของประเทศประชาธิปไตยอื่นอีกแล้ว
มิพักต้องกล่าวถึงกรณีการกระทำของบุคคลและองค์กรอื่นๆที่เกี่ยวเนื่องกับคณะรัฐประหารกับพวก

ร่างรัฐธรรมนูญที่ทำลายหลักนิติศาสตร์อย่างน่าเกลียด น่าประณามเช่นนี้
ควรแล้วหรือที่จะถูกยอมรับและนำมาใช้สำหรับเป็นกติกาของประเทศ
หากจะเป็นได้ก็เพียงเป็นหลักประกันสิทธิเสรีภาพอย่างไร้ขอบเขต ไร้ข้อจำกัด
เพื่อความร่มเย็นสงบสุขของเหล่าคณะรัฐประหารกับพวกเท่านั้น
แต่ไม่ใช่เพื่อความสงบสุขของประชาชนทั้งประเทศ

นี่คืออีกหนึ่งประเด็น (นอกเหนือจากที่กล่าวไว้แล้วในคราวก่อน)
ที่แสดงให้เห็นชัดว่า...............ร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ เป็นร่างรัฐธรรมนูญในระบอบเผด็จการ
หาใช่รัฐธรรมนูญในระบอบประชาธิปไตยไม่

การพร่ำเอ่ยอ้างว่า “รับไปก่อนแล้วแก้ทีหลัง”
จึงเป็นคำเอ่ยอ้างที่ขาดความรับผิดชอบต่อประชาชนและระบอบประชาธิปไตย เป็นคำเอ่ยอ้างที่ไร้ยางอายที่สุด
การจะแก้ไขเพิ่มเติม ตัวร่างฯต้องอยู่ในสถานะที่ใช้ได้เป็นร่างฯในระบอบประชาธิปไตย แต่นี่เรียกได้ว่า
เน่าเสียทั้งฉบับ มีเพียงผักชีโรยหน้าว่าด้วยสิทธิเสรีภาพประดับไว้ไม่กี่มาตรา
ซึ่งหาเป็นผลในความเป็นจริงไม่ (ดูข้อความในคราก่อน) ของเน่าเสียทั้งฉบับ จะแก้ได้อย่างไร
หากจะแก้ไขก็ต้องแก้ไขทั้งฉบับ
แก้ไขเพิ่มเติมจากร่างรัฐธรรมนูญในระบอบเผด็จการเป็นร่างรัฐธรรมนูญในระบอบประชาธิปไตย
มิสู้เขียนใหม่ง่ายกว่ารึ ?

รัฐธรรมนูญไม่ใช่เสื้อผ้าที่พวกมักง่ายอยากแก้ อยากทิ้งเมื่อไร อย่างไรก็ได้

ก่อนหน้าประชาชนเรียกร้องแล้วเรียกร้องอีกถึงความไม่ชอบมาพากล
ถึงความพิกลพิการของการจัดวางโครงสร้างทางบริหารของร่างรัฐธรรมนูญ แต่ก็ทำเป็นไม่รู้ไม่ชี้
ซ้ำยังกล่าวร้าย กล่าวหา ข่มขู่ผู้แสดงความคิดเห็น พอร่างออกมาหน้าตาอัปลักษณ์เป็นอสูรกายเผด็จการ
ประชาชนไม่ต้องการ ก็กลับออกมาเอ่ยเอื้อนให้รับไปก่อนค่อยแก้ไขทีหลัง ใครไม่รับทำลายชาติ ไม่รักชาติ
ไม่รักประชาธิปไตย

หมายถึงคณะรัฐประหารกับพวกเช่นนั้นหรือ ?

คณะรัฐประหารกับพวกสร้างสรรค์ร่างฯนี้เป็นประชาธิปไตยเช่นนั้นหรือ ?

ร่างรัฐธรรมนูญในระบอบเผด็จการ แต่ย้อมสีให้เป็นร่างรัฐธรรมนูญในระบอบประชาธิปไตย น่าขันสิ้นดี

Monday, May 3, 2010

จดหมายเปิดผนึกจากประชาชน ที่เป็นแนวร่วม นปช. แดงทั้งแผ่นดิน

จดหมายเปิดผนึกจากประชาชน ที่เป็นแนวร่วม นปช. แดงทั้งแผ่นดิน
ถึงชาวโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์
โดยคุณนักเลงโบราณ ประชาไทยครับ

จากการเปิดเผยจดหมายเปิดผนึกของชาวโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ถึง นปช.
ที่มีการเผยแพร่สู่สาธารณะอย่างกว้างขวางนั้น ประชาชนที่เป็นแนวร่วม นปช
แดงทั้งแผ่นดิน รู้สึกไม่สบายใจในทัศนคติของชาวโรงพยาบาลจุฬาฯ
มีต่อประชาชนคนรักประชาธิปไตย ในการนำศักดิ์ศรี
เกียรติภูมิของโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ มาเกลือกกลั้ว
ยอมเป็นเครื่องมือให้กับรัฐบาลที่ไม่ชอบธรรม
มีพฤติกรรมใช้กำลังแก้ไขปัญหาและลงมือเข่นฆ่าประชาชนไปกว่า 20 ราย
ซึ่งการกระทำแบบนี้ ย่อมขัดต่อระบอบคุณธรรม จริยาธรรม
ที่เป็นหลักในการประกอบสัมมาอาชีพของบุคคลากรของชาวโรงพยาบาลจุฬาที่เรียกตัวเองว่า
แพทย์ พยาบาล

จากความขัดแย้งระหว่างรัฐบาลและ นปช. ที่มีต่อเนื่องกันมากว่า 3
ปีมีบทเรียนจากการดำเนินการของทั้งสองฝ่ายได้ปรากฎอย่างชัดเจนถึงแนวทางการปฏิบัติเพื่อเรียกร้องให้ประเทศและสังคมกลับสู่ความสงบสุขดังเดิม
โดยข้อเรียกร้องของ นปช.คือการขอให้รัฐบาล "ยุบสภา คืนอำนาจ
ประชาชน"และยึดแนวทาง "สงบ สันติ อหิงสา"
เป็นอาวุธในการเรียกร้องต่อรัฐบาลและสังคมโดยรวม เพื่อให้คำร้องขอของ
นปช..บรรลุเป้าประสงค์ การเรียกร้อง แต่ข้อเรียกร้องของ
นปช.กลับไม่ได้รับการตอบสนองใด ๆจากรัฐบาล แม้ทาง
นปช.ได้แสดงเจตนารมณ์ผ่อนคลายข้อเรียกร้องด้วยการเจรจากับรัฐบาล 2 ครั้ง
และ แสดงความปรารถนาดีต่อคณะฑูตานุทูต ที่ให้ความสนใจ เยี่ยมการชุมนุมของ
นปช. ด้วยการยืดระยะเวลาการยุบสภาให้กับรัฐบาลไปเป็นเวลา 30 วัน
ล้วนไม่ได้รับการตอบสนองจากรัฐบาล มิหน่ำซ้ำ รัฐบาลกลับใช้กองกำลัง ตำรวจ
ทหาร ติดอาวุธ เข้าจัดการกับประชาชนอย่างรุนแรง
จนมีเหตุทำให้ประชาชนต้องบาดเจ็บและล้มตาย สูญหาย ไปเป็นจำนวนมาก

ไม่ทราบว่า เรื่องราวความขัดแย้งที่กล่าวมานี้
ชาวโรงพยาบาลจุฬาฯทราบเรื่องหรือไม่? เพราะจากแถลงการณ์ของพวกท่าน
ได้จับประเด็นเฉพาะส่วนที่เกี่ยวข้องกับตัวของพวกท่านโดยเฉพาะ
ไม่คำนึงถึงความสูญเสียของประชาชนแม้แต่น้อยและนอกจากนี้
ในท้ายของแถลงการณ์ของพวกท่าน ได้แสดงเจตนาที่ปกปิดมาตั้งแต่ต้น
แค่มาเปิดเผยตัวเองอย่างล่อนจ้อนด้วยข้อความ "หวังว่า
นปช.จะกระทำตามที่บอกกับสังคม
ว่าจะใช้แนวทางสันติและไม่คิดล้มล้างราชวงค์
โดยการดำเนินการตามที่ได้รับการร้องขอทันที"

ความขัดแย้งระหว่าง โรงพยาบาลจุฬากับ นปช.
มีปัญหาในเรื่องความไม่สบายใจและความเข้าใจผิดต่อกันเนื่องจากการเข้ามาในพื้นที่ถนนสีลมของกองกำลังทหารติดอาวุธร้ายแรงเมื่อวันที่
19 เมษายน พ.ศ. 2553 และพฤติกรรมของกองกำลังเหล่านี้
มีการขึ้นบนอาคารตึกสูงต่าง ๆ ในพื้นที่ย่านนั้นและเมื่อวันที่ 22 เมษายน
ได้เกิดเหตุการณ์ยิงระเบิด M-79 จำนวน 5 ลูก ส่งผลให้เกิดการบาดเจ็บ
ล้มตายขึ้นอีกครั้งหนึ่ง และจากเหตุนี้
มีข่าวการให้สัมภาษณ์ผู้เห็นเหตุการณ์ ว่า "เห็นมีคนขึ้นไปยิงระเบิด M-79
บนระเบียงชั้น 5 ของตึกภูมิพล
และต่อมาก็มีการเสนอข่าวผลการพิสูจน์ถึงจุดยิงระเบิดครั้งนี้เช่นกันว่า
มาจากโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ เมื่อมีเหตุเช่นนี้
การขอเข้าไปตรวจค้นซึ่งเป็นต้นเหตุแห่งความไม่พอใจของชาวจุฬาทั้งปวง
ได้เกิดขึ้น ไม่ได้เกี่ยวข้องใด ๆ
กับบทท้ายของแถลงการณ์?ส่อเจตนาไปในทางการเมืองอย่างชัดเจน

ตลอดเวลาของการชุมนุมของ นปช.ที่ดำเนินการภายใต้สิทธิ เสรีภาพ
อันมีหลักประกันเอาไว้ในรัฐธรรมนูญของไทย
ไม่มีเหตุอันใดที่จะนำมากล่าวอ้างว่า การชุมนุมครั้งนี้
มีเจตนาจะล้มล้างราชวงศ์ ตามท้ายแถลงการณ์
แต่การที่ชาวโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์
นำเอาข้อความหมิ่นเหม่อย่างนี้มาเป็นคำประกาศ
ก็เท่ากับเป็นการชี้เจตนาอย่างแท้จริงของชาวโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์
ที่จะนำเอา ศักดิ์ศรี เกียรติภูมิ ของโรงพยาบาล
มาเป็นเครื่องมือในการล้อมปราบ ล้อมฆ่าประชาชน ขอถามว่า ความคิด
เจตนาเช่นนี้ ไม่ขัดต่ออุดมคติที่เหล่า แพทย์ พยาบาล
พร่ำพูดมาตลอดหรอกหรือ
หรือเป็นข้อยกเว้นให้เหล่าชาวโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์สามารถกระทำได้

พวกชาวโรงพยาบาลจุฬาทั้งหลาย พวกคุณใส่ชุดสีขาว
อย่าให้เครื่องแบบเสื้อการ์วของพวกคุณต้องเปื้อนเลือดของพี่น้องไทย

โปรดยุติความคิดที่จะเป็นเครื่องมือของรัฐบาลในการเข่นฆ่าประชาชน
ทำหน้าที่เยี่ยงผู้มีบุญต่อไปและขอให้ยุติข้อเรียกร้องที่เป็นภัยต่อ
ชีวิตและสวัสดิภาพของผู้ชุมนุมตามสิทธิในรัฐธรรมนูญเช่นพวกเรา "ประชาชน
ที่เป็นแนวร่วม นปช. แดงทั้งแผ่นดิน "

หวังว่า คำชี้แจงและข้อเรียกร้องของ "ประชาชน ที่เป็นแนวร่วม นปช.
แดงทั้งแผ่นดิน" คงจะได้รับการพิจารณาจากชาวโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์